Faculty of PNU

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มี 7 คณะ
สามารถแบ่งตามกลุ่มสาขาวิชาดังนี้


  • กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 2 คณะ

หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิต เรียน 6 ปี

1) นักศึกษา ปี 1 และ ปี 3 จะเรียนหมวดศึกษาทั่วไป

2) ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลาร่วมสอนนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 24 คน

3) ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ร่วมสอนนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 12 คน

4) โรงพยาบาลระโนด โรงพยาบาลสทิงพระ โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลควนเนียง โรงพยาบาลปัตตานี โรงพยาบาลศูนย์ยะลา โรงพยาบาลรามัน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก โรงพยาบาลยี่งอ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สถานบริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรับเป็นสถานที่ที่นักศึกษาชั้นปรีคลินิก และชั้นคลินิกหมุนเวียนไปฝึกงาน

5) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า/วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ร่วมมือด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลกัลยานิวัฒนาการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์ให้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาชั้นคลินิก ช่วงปีที่ 4-6

6) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข และระบบส่งต่อ

จะพูดถึงการเตรียมตัวในแง่ความรู้วิชาการเท่านั้นนะ จะบอกว่าการเรียนแพทย์ต้องให้ความสำคัญเกือบทุกวิชา อย่าคิดว่าเก่งชีวะอย่างเดียวจะไปโลดนะ พี่จะพูดไล่ไปทีละวิชานะ วิชาแรกชีวะ ก็ไม่ต้องพูดอะไรมาก ใช้แน่นอน 
วิชาเคมี ใช้เยอะมาก สูตรเคมี ปฏิกิริยา ใช้เกี่ยวกับเรื่องยา เรื่องการเปลี่ยนแปลงสารต่างๆในร่างกายและอื่นๆ
วิชาคณิตศาสตร์ เหมือนกัน(ใช้เยอะ) คำนวณขนาดยา สูตรต่างๆ หรืองานสถิติก็ใช้ ต่อมาวิชาฟิสิกส์ อย่าคิดว่าไม่ใช้นะ ใช้เยอะมากเลย จะดูกลไกต่างๆ สมดุล แรงสารพัดแรง เต็มไปหมด

และที่สำคัญมากอีกวิชานึง คือ ภาษาอังกฤษ ไม่ได้เอามารักษาคนไข้ด้วยภาษาอังกฤษหรอก แต่ต้องเอาวิชานี้มาใช้อ่านตำราการแพทย์นั่นเอง วิชานี้ไม่เหมือนกับวิชาอื่นในเรื่องการเตรียมตัว ตรงที่ว่าน้องจะไม่สามารถไปฟิต เร่งท่อง เร่งติว ในเวลาสั้นๆได้ มันต้องอาศัยการสะสมมาเรื่อยๆ ใครอยากเก่งอังกฤษคงต้องเตรียมตั้งแต่เนิ่นๆนะ
น้องๆต้องอ่านหนังสือให้เข้าใจ และอย่าลืมทำโจทย์ให้เยอะ เอาแบบทำโจทย์ให้ได้ซัก… สิบปีย้อนหลังนะ พี่คิดว่าน้องคงต้องจริงจังนิดนึง และคงต้องมีหัวดีนิดๆ (แต่จริงๆเอาแค่ไม่โง่มากก็พอแล้ว )

เป็นหมอก็… ตรงไปตรงมา สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้โดยตรง แต่ขอนิดนึงต้องตั้งเจตนาเพื่ออัลลอฮฺ อย่างบริสุทธิ์ใจ แล้วพระองค์จะตอบแทนให้อย่างมาก ส่วนเวลาที่นอกเหนือจากงานประจำ ก็แล้วแต่สะดวกนะ ทำงานในหนทางของพระองค์ได้อีกเยอะ

หากคุณเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียว มีจุดเดือดง่ายๆ อาจจะพักความคิดการประกอบอาชีพพยาบาลไปสักพัก เพราะอาชีพสายนี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความอดทนทางด้านอารมณ์ที่สูง ทั้งยังต้องมีอัธยาศัยและจิตใจดี เพราะพยาบาลก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลีกเลี่ยงการพบเจอผู้คนไม่ได้ แต่ที่สำคัญที่สุด คือจะต้องมีมนุษยธรรมและสนใจทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์และร่างกานมนุษย์ 

โดยปกติจะใช้เวลาเรียนอยู่ที่ 4 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถสมัครเข้าทำงานในโรงพยาบาลในหลายๆ ตำแหน่งได้ อีกทั้งยังสามารถขอใบประกอบโรคศิลป์สำหรับพยาบาลได้ด้วยนะ สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ขณะที่เรียนอยู่ก็จะมีหลักสูตรเฉพาะทางให้เลือกแยกย่อยออกไปตามนี้เลย

  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลสุขภาพจิต
  • สุขภาพของเด็ก
  • การบกพร่องทางการเรียนรู้

นักศึกษาจะได้เรียนกายวิภาคพื้นฐาน จิตวิทยา ชีวเคมี และวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิชาเฉพาะทาง หลายหลักสูตรเขาก็จะมีการสอน “ความเป็นมนุษย์” พอเห็นแบบนี้อาจจะรู้สึกสงสัยว่า แล้วทุกวันนี้เราไม่ใช่มนุษย์หรอ ทำไมยังจะต้องเรียนความเป็นมนุษย์อีก แต่สำหรับคนที่จะมาเป็นพยาบาลหรือทำงานในสายสุขภาพ เจ้าความเป็นมนุษย์นี่แหละที่เป็นรากฐานที่ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์และวิธีสื่อสารกับผู้คน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญมากๆ ในหลักสูตรพยาบาล

ช่วงปีสุดท้ายของหลักสูตร หลังจากตรากตรำเรียนวิชาทั้งภาคปฎิบัติและทฤษฎี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ก็จะเปิดโอกาสให้คุณได้ลองลงสนามจริง พูดง่ายๆ คือลงไปประจำฝึกงานในโรงพยาบาลท้องถิ่น

น้อง ๆ คนไหนที่อยากเรียนพยาบาลต้องห้ามพลาด…เพราะเราจะมาเจาะอาชีพสายพยาบาลกัน!! พี่เชื่อว่าการที่เราเลือกเรียนสายพยาบาล เพราะ ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเดียวกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดได้ลองเรียนแล้วรู้สึกว่าการเป็นพยาบาลไม่ตอบโจทย์หล่ะ? วันนี้พี่จะพามาดูว่านอกจากการเป็นนางพยาบาลแล้วยังมีสายอาชีพไหนที่รองรับน้อง ๆ ที่จบคณะพยาบาลกันบ้าง 

  1. แอร์โฮสเตส
    สานฝันน้อง ๆ ที่อยากเบนสายเป็นนางฟ้าบนสายการบินเลย ใครจะไปคิดว่าการเรียนพยาบาลสามารถเป็นแอร์โฮสเตสได้ และที่สำคัญ การเรียนพยาบาลจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษด้วย เนื่องจากน้อง ๆ ผ่านการเรียนเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลมาแล้ว ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง Skill ที่สำคัญมากในสายอาชีพนี้
    .
  2. ผู้ช่วยวิจัย
    การเรียนพยาบาลหมายถึงน้อง ๆ ต้องผ่านการเรียนวิทยาศาสตร์มาแล้ว ข้อดีของพยาบาลสายวิจัย คือ น้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องขึ้นเวร มีเวลามากขึ้นเพราะงานไม่หนัก แต่ก็หมายความว่าน้อง ๆ จะไม่ได้ใช้ทักษะด้านพยาบาลเช่นกัน จะเป็นสายซัพพอร์ตมากกว่า
    .
  3. อาจารย์พยาบาล
    การจะเป็นอาจารย์พยาบาลได้น้อง ๆ ต้องผ่านการเรียนปริญญาโทก่อน เพราะต้องมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทนั่นเอง สายนี้อาจเหมาะกับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนเพิ่มเติมเพื่อข้ามขั้นเลย นอกจากความรู้ด้านวิชาชีพที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเงินเดือนก็จะสูงตามเช่นกัน
    .
  4. นักวิชาการสาธารณสุข
    การเป็นข้าราชการเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง แต่ฐานเงินเดือนไม่ได้สูงขนาดนั้น น้อง ๆ ที่เลือกเดินในสายนี้อาจต้องใช้เวลาในการปรับฐานเงินเดือน แต่การที่เราเรียนพยาบาลมาจะได้ทำงานในโรงพยาบาลเสริมสุขภาพประจำตำบล และหากมีใบประกอบวิชาชีพ ก็จะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง
    .
  5. พยาบาล Freelance
    อาจจะสงสัยว่า พยาบาล Freelance คืออะไร การทำพยาบาล Freelance คือ น้อง ๆ อาจรับงานเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ดูแลเด็กตามบ้านต่าง ๆ การทำงานประเภทนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละบ้าน และส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลตลอดเวลา หรือดูแลระยะยาวนั่นเอง ดังนั้นค่าตอบแทนก็มักจะสูงมากกว่าพยาบาลปกติ
    .
  6. พยาบาลประจำคลินิกเสริมความงาม
    ใครว่าการเรียนจบพยาบาลต้องทำงานในโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน เพราะปัจจุบันมีสายสุขภาพที่มีความต้องการผู้จบพยาบาลโดยตรงมากมาย เช่น คลินิกเสริมความงามนั่นเอง อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าเป็นพนักงานนวดหน้าหรือลงมือทำทรีตเม้นท์  แต่เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า เป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของคลินิก พยาบาลคลินิกจะเป็น พยาบาลวิชาชีพโดยเฉพาะ แต่ส่วนใหญ่ในสายงานนี้อาจต้องมีประสบการณ์ในโรงพยาบาลก่อน
    .
  7. ตัวแทนบริษัทยา อุปกรณ์การแพทย์
    นอกจากความรู้ด้านหัตถการ การดูแลผู้ป่วยแล้ว นักศึกษาพยาบาลยังต้องมีความรู้ในด้านยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านการแพทย์อีกด้วย ดังนั้นน้อง ๆ ก็สามารถมาทางสายนี้ได้ไม่ยาก
    .
  8. พยาบาลในบริษัทประกันภัย
    ถือว่าเป็นพยาบาลที่ช่วยพิจารณาการรับประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัย เป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยบริษัทประกันภัยในการพิจารณาลูกค้า เป็นการประเมินความเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยได้กำหนดไว้นั่นเอง
    .
  9. พยาบาลประจำโรงงาน / ห้าง / โรงเรียน / ตึกสำนักงานบริษัทต่าง ๆ
    อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าการจบพยาบาลไม่จำเป็นที่ต้องทำงานในโรงพยาบาลอย่างเดียว แต่น้อง ๆ สามารถทำงานได้หลากหลายที่ ขึ้นอยู่กับการรับของบริษัท แต่โดยปกติการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่แบบนี้ อาจต้องผ่านการอยู่ในโรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน อาจเป็นการส่งตัวจากโรงพยาบาลไปทำในองค์กรต่าง ๆ แทน ก็จะเป็นอีกฟิลหนึ่งที่น้อง ๆ ไม่ต้องทำงานในโรงพยาบาลนั่นเอง
    .
  10. พยาบาลในโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน
    จะขาดสายอาชีพนี้ไม่ได้เลย เพราะการจบคณะพยาบาลแล้วมาทำงานในโรงพยาบาลเลยถือว่าเป็นการทำงานตรงสายที่สุดแล้ว แต่น้อง ๆ อาจต้องแลกมาด้วยการทำงานที่หนัก และวันหยุดส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยตรงกับคนในครอบครัวด้วย การทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาล น้อง ๆ จะได้เจอเคสที่หลากหลาย และผู้คนในจำนวนที่มากกว่า แต่ก็มีความมั่นคงสูง ในกรณีของโรงพยาบาลเอกชน เคสก็จะน้อยกว่า แต่ในสายวิชาชีพนี้น้อง ๆ ก็จะได้ใช้ทักษะทั้งหมดที่เรียนมาเช่นกัน.
  • กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จำนวน 3 คณะ

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกี่ยุคสมัย วิศวกรรมศาสตร์ ก็ยังคงผงาดเป็นสาขายอดฮิตที่น้องๆ ใฝ่ฝันอยากจะเรียน ด้วยความได้เปรียบและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีผลตอบแทนหรือรายได้ที่ค่อนข้างสูง 

และจากการรวบรวมข้อมูลการเรียน สายงานจากแหล่งองค์กรชั้นนำ รวมถึงเทรนด์สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย บทความนี้ Admission Premium จะมาแนะนำเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ วิศวกรรมศาสตร์แต่ละสาขา เหมาะกับใคร? จบมาสามารถทำงานในตำแหน่งไหนได้บ้าง? น้องๆ ที่เริ่มศึกษา

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
สิ่งที่นักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะได้เรียนก็คือ ศาสตร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ทเวิร์คต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาของวิชา Computer Science ทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องของ Information System และวิศวกรรมไฟฟ้าบางส่วนด้วย

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรระบบ ฯลฯ
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชื่นชอบเรื่องของคอมพิวเตอร์ สนใจใฝ่รู้ในเรื่องเทคโนโลยี ชอบพัฒนาทักษะตัวเองเสมอ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์และภาษาคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
วิศวกรรมอุตสาหการ หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า IE (Industrial Engineering) จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่างๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร และประสิทธิการในการทำงาน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมด้านต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรในโรงงาน ทั้งสายงานการผลิต สายงานการวางแผนผลิต และ สายงานบริหารงานผลิต
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชอบเรื่องของการคำนวณ เพราะหน้าที่หลักของวิศวอุตสาหกร คือการคำนวณทุกอย่าง ตั้งแต่ การใช้งานเครื่องจักร วัตถุดิบ แรงงาน ฯลฯ

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ และการประยุกต์การใช้ไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การใช้งานสมการในการวิเคราะห์ การผลิตและส่งถ่ายพลังงานไฟฟ้า การจัดการกับสัญญาณไฟฟ้า อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ฯลฯ โดยมีสาขาแยกย่อยลงไปอีกเป็นจำนวนมาก

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรผู้ออกแบบ ควบคุม ติดตั้ง ดูแลระบบไฟฟ้าและระบบส่องสว่าง และ Sale Engineer
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : สนใจเรื่องของวงจรไฟฟ้า ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ สามารถวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้าไปใช้งาน รู้จักปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
นี่คือสาขาทางด้านวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดสาขาหนึ่ง มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิศวกรรมเครื่องกล เน้นศึกษาโดยใช้ความรู้ด้าน ฟิสิกส์ เคมี มาประยุกต์ใช้กับงานด้านกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องจักรกล เช่น ระบบไฮดรอลิก หุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักร ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น และอื่นๆ อีกมากมาย

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรในสายงานวิศวกรรมเครื่องกล เช่น สายทำความเย็นและปรับอากาศ (ติดตั้ง / ออกแบบ), สายยานยนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน งานวิจัยและพัฒนา, สายพลังงาน โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ ผลิตสำรวจน้ำมันและก๊าซ, สายซ่อมบำรุง โรงงาน โรงไฟฟ้า โรงปิโตรเคมี, สายออกแบบ งานด้าน engineering detail design, sale engineer
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชอบเรียนวิชาฟิสิกส์เป็นชีวิตจิตใจ และสนใจในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกทุกชนิด

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
งานของวิศวกรโยธา คือการวางแผนและควบคุมการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น  ถนน สะพาน ระบบขนส่ง อาคาร ระบบสุขาภิบาล วิจัยและให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคต่างๆ ในการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นึกศึกษาที่จบจากสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพ เช่น วิศวกรสำรวจ วิศวกรด้านโครงสร้าง วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบการจราจร วิศวกรภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรออกแบบโครงสร้าง วิศวกรประมาณราคาสถาปัตย์ และวิศวกรสนามในบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างๆ
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชื่นชอบงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสาธารณูปโภค การสำรวจ และการทำแผนที่ ชอบลงมือปฏิบัติงาน ชอบการพัฒนาประเทศ โดยอาศัยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

สำหรับคนที่อยากเรียน สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิชาพื้นฐานหลักๆ ที่น้องต้องเจอในชั้นปีแรกเลยคือ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์และแคลคูลัสสำหรับวิศวกร จากนั้นก็จะเป็นวิชาแกนของสาขาต่างๆ ตั้งแต่ วิศวะไฟฟ้า เครื่องกล โยธา คอมพิวเตอร์ วิศวการแพทย์ อุตสาหการ ปิโตรเคมี ปิโตรเลียม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่สำคัญเลยคือน้องๆ ควรต้องมีทักษะแนวคิดแบบตรรกะ มีความมุ่งมั่นพยายามในการศึกษาวิชาเหล่านี้ให้ดี ทั้งนี้ต้องดูความชอบเฉพาะทาง ต้องถนัดจึงจะเรียนสนุก

นอกจากนี้ คนจะเรียนสายวิศวะให้ได้ดี ต้องเป็นคนที่ รู้จักบริหารอย่างเป็นระบบ มีวิธีคิดวางแผน ประยุกต์อยู่พอสมควร ซึ่งในการเรียนนั้น หากไม่ได้เก่งขั้นเทพ ควรเลือกในสายงานที่เป็นกลางๆ เพื่อใช้ความรู้ด้านวิศวะที่เรียนเป็นพื้นฐานเพื่อเลือกงานได้มากขึ้น และวิศวะบางสายงาน นอกจากเด่นวิศวะแล้ว จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี อีกด้วย

– เรียน 4 ปี ส่วนใหญ่จะมีสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและยั่งยืน สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
– เหมาะกับคนที่ชอบวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม ชอบค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆ ช่างตั้งคำถามและหาคำตอบ และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง
– จบมาสามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา/กระทรวงต่าง ๆ  ประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

คือ การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตการตั้งสมมติฐาน และ การทดลอง
โดยใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยาพยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำบวกกับอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์

ปี1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป
เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สถิติ
จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสารเน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ปี 2 เริ่มเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ
เรียนหมวดวิชาเฉพาะตามสาขาที่เลือก
เช่นเลือกเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์น้องๆก็จะได้เริ่มเรียนการเขียนโปรแกรม การพัฒนาเว็บเบื้องต้น

ปี 3 เรียนลึกลงไปเกี่ยวกับวิชาเอกเฉพาะ
ยกตัวอย่างคณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมี ก็จะได้เรียนเน้นไปทางด้านเคมี
เช่น เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีอินทรีย์ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ และสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกเสรี
ที่นอกเหนือจากวิชาเอกเฉพาะได้ตามความสนใจ

ปี 4 ฝึกงาน
มีการเรียนวิชาเอกเลือกและฝึกงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม
หน่วยงานวิจัย สถาบัน หรืองานอื่นที่เทียบเท่าต้องเขียนรายงานและนำเสนอผลงาน
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างกันไป

  1. เรียนไปทำไม เรียนไปทำนาเหรอ
    เด็กคณะนี้จะโดนถามแบบนี้บ่อยๆ ว่าเรียนไปทำไร ทำนาเหรอ จำเป็นต้องเรียนด้วยเหรอ คือหลายๆ คนไม่เข้าใจว่าไม่ได้ไปเรียนขุดดิน จับจอบ ทำนา เรียนวิทยาศาสตร์ที่มันเกี่ยวกับการเกษตรต่างหาก และยากมากด้วย
  2. ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มาครบเลยนะ
    วิทยาศาสตร์คณะเกษตรเยอะและยากพอตัวเลยล่ะ เพราะเอาจริงๆมันก็คือคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งแทบทุกวิชาก็จะวนเวียนอยู่ที่ 3 วิชานี้ ส่วนวิชาไหนเยอะกว่าก็แล้วแต่สาขา แต่ชีวะนี่เยอะทุกสาขาเลย
  3. สาขาวิชาเกี่ยวกับเกษตรมีเยอะมากๆ
    เมื่อตัดสินใจว่าจะเรียนต่อคณะเกษตร สิ่งที่ตามมาคือจะเรียนเกษตรสายไหนดี ซึ่งมีให้เลือกเรียนเยอะมากทั้งพืชไร่ พืชสวน โรคพืช หรือคณะที่มีความคล้ายๆ กัน เช่น คณะอุตสาหกรรมเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ คือต้องหาข้อมูลดีๆ แน่นๆ ก่อนตัดสินใจเรียนนะ
  4. บางสาขามีทั้งแคลคูลัสและเขียนเหมือนวิศวะ
    นั่นแหละครับ บางสาขา แคลคูลัสนี่ไปนั่งเรียนและตัดเกรดร่วมกับเด็กวิศวะได้
    เลย วิชาเขียนแบบก็เช่นกัน
  5. บางสาขาแทบใช้ชีวิตอยู่ในห้องแลป
    คือไม่ได้เหนื่อยขุดดิน ปลูกต้นไม้ แต่แทบจะตายคาแลป เพราะหลักของคณะนี้
    คือการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาทางด้านเกษตรกรรม จึงหนีไม่พ้นการทดลองแน่นอน เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกันสนุกเลยทีเดียว
  6. ชีวะและเคมีของคณะเกษตรยากมากๆ
    อันนี้ส่วนตัว คิดว่า 2 วิชานี้คือแกนของคณะเกษตรเลย ไม่ว่าจะแขนงไหน เคมีทั่วไปเคมีอินทรีย์ จุลชีววิทยา วิชาพันธุศาสตร์ มีแต่พีคๆ บางคนเรียน 2-3 รอบกว่าจะผ่านได้
  7. เป็นคณะที่มีชื่อวิชาแปลกๆ เยอะมาก
    คือ หลายๆ วิชาเลือกนี่แทบจะเดาไม่ออกเลยว่าเรียนอะไร เช่น วิชาการผลิตแมลง วิชาพืชน้ำมัน วิชาไส้เดือนฝอยศัตรูพืช ประมาณนี้ เวลาคุยกับเพื่อนก็จะตลกๆ ดี

โดยส่วนตัวให้ความน่าสนใจของคณะนี้อยู่ที่ 7/10 ซึ่งมาจากข้อดี-ข้อเสีย ดังต่อไปนี้
ข้อดี : การเกษตรกรรมของประเทศไทยค่อนข้างจะใหญ่มาก ถ้าน้องคนไหนสนใจด้านนี้ การเรียนคณะนี้จะทำให้น้องได้ความรู้ไปใช้ในการพัฒนา หรือทำงานเกี่ยวกับทางด้านการเกษตรอีกเพียบเลย ทั้งในด้านการผลิต พัฒนา หรือแปรรูป ยิ่งถ้าบ้านไหนใครมีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนาทำไร่เป็นหลักอยู่แล้วน้องสามารถนำความรู้ที่ได้ไงประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่เลย ยิ่งในปัจจุบัน 1 ใน 3 คน ของประชากรในประเทศเราประกอบอาชีพทางด้านเกี่ยวกับเกษตรกรรม แต่ส่วนน้อยมากๆ ที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และสามารถใช้มันพัฒนางานที่ทำอยู่ได้ ดังนั้นน้องคนไหนที่อยากจะช่วยพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการช่วยเหลือให้ความรู้แก่ชาวนาหรือเกษตรกรน้องจะเรียนคณะนี้ได้อย่างสบายใจและอดทน


ข้อเสีย : จริงๆแล้วชื่อเต็มๆของคณะนี้ ควรจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์ทางด้านเกษตรนะเพราะ 90% ของการเรียนคณะนี้จะเป็นวิทยาศาสตร์แทบทั้งหมด อย่างที่รู้ๆกันแหละ ค่อนข้างจะเรียนยากมาก ยิ่งถ้าไม่ได้เตรียมใจมาเจอวิทย์หนักๆ อาจจะจบเกิน 4 ปีได้ง่ายๆ เลย แถมในระหว่างเรียนก็จะมีเหล่าคนที่ไม่รู้ คนที่เข้าใจผิด คนที่ถาม กวนตีน แบบเรียนไปทำนาเหรอ เรียนไปปลูกมัน ปลูกอ้อยเหรอ อาจจะทำให้หงุดหงิดได้ง่ายๆ ส่วนเมื่อเรียนจบมาแล้วนั้นงานก็ไม่ได้หาง่ายเท่าไรนัก ยิ่งถ้าอยากทำงานราชการ ด้วยแล้ว อาจต้องพยายามหนักหน่อย เพราะคณะเกษตรเปิดสอนหลายสถาบันมาก แต่งานราชการที่ระบุว่าต้องเป็นคนจบจากคณะเกษตร จบด้านการเกษตรมีไม่เยอะเลย ส่วนงานเอกชนนั้นถึงจะมีเยอะกว่า แต่หลายๆ บริษัทก็ให้เงินเดือนไม่เยอะนัก ถ้าอยากรายได้ดีสำหรับคณะนี้ยังไงก็ต้องทำธุรกิจส่วนตัว

ปี 1
วิชาสายวิทย์-คณิตมาเต็ม

ในปีแรกเด็กคณะนี้จะเรียนพื้นฐานอย่าง เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์พื้นฐาน คณิตศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ ซึ่งเนื้อหาจะเหมือนตอนมัธยมแต่ยากกว่า อีกทั้งยังมีวิชาความรู้ทั่วไป เช่น เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาชนบท เป็นต้น บางสถาบันก็จะได้ออกฝึกงานตั้งแต่ปีนี้เลย
ปี 2
เริ่มเน้นเรียนวิชาของคณะ

จากนั้นในปี 2 จะได้เรียนวิชาเฉพาะของคณะเกษตร เช่น การส่งเสริมการเกษตรและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เครื่องยนต์ทางการเกษตร แต่ก็เรียนวิชาด้านวิทย์โหดๆ เช่น เคมีอินทรีย์ จุลชีววิทยา หลักสถิติ และภาษาอังกฤษอยู่เหมือนกันนะ
ปี 3
เลือกสาขาไหน จะเจอสิ่งนั้น

เลือกเรียนสาขาเคมีการเกษตร ก็จะมีวิชาที่เกี่ยวเนื่องเคมีโผล่มาเพียบ สำหรับปี 3 นี้ ส่วนมากจะเป็นวิชาของสาขาที่เลือกแทบทั้งหมด
ปี 4
ฝึกงาน+ทำวิทยานิพนธ์

ในปีสุดท้ายนี้ถ้าไม่ติดวิชาอะไรมาในช่วงปีต้นๆ ก็จะเหลือวิชาเรียนไม่เยอะแล้ว โดยส่วนมาก ในปีนี้จะเป็นการฝึกงาน ทำสัมมนาและทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา ซึ่งตัวยากก็คือการทำวิทยานิพนธ์นี่แหละถ้าใครเจออาจารย์เดี่ยวๆ นี่เหนื่อยสุดๆ

1.นักวิจัยทางการเกษตร
มีทั้งรัฐบาลและเอกชนเลย ลักษณะงานจะเป็นการค้นคว้าวิจัย เช่น วิจัยเรื่องข้าว ทำยังไงให้กระบวนการผลิตข้าวจะดีขึ้น ผลิตได้มากขึ้น เป็นต้น
2.นักวิชาการในกรมวิชาการเกษตร
ในกรมฯนี้ก็จะมีสำนักแยกย่อยไปตามสาขาอีกนะ เช่น สถาบันวิจัยพืชสวน พืชไร่ อารักชาพืช เลือกสอบตามที่นัดหรือสนใจได้เลย ตัวอย่างงานก็ เช่น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และส่งเสริมเรื่องต่างๆเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยในกรมวิชาการเกษตรนี้จะมีทั้งราชการและพนักงานราชการ
3.นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกกันว่า “เกษตรตำบล” เป็นอีกงานลักษณะงานเช่น ควบคุมดูแลพื้นที่ทางการเกษตร ควบคุมพนักงานให้ดำเนินงานตามแผนและนโยบายของรัฐบาล และแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยจะมีอยู่แทบทุกตำบลเลย ซึ่งปัญหาแต่ละพื้นที่ก็จะไม่เหมือนกันด้วยนะ
4.พนักงานขายผลิตภัณฑ์ในธุรกิจการเกษตร
น่าจะเป็นงานที่หาได้ง่ายสุดแล้วสำหรับคณะนี้ เพราะมีเอกชนรับตำแหน่งนี้เยอะมากจริงๆ งานที่ทำก็ตามชื่อตำแหน่งเลย คนไหนขายเก่งๆนี่รวยได้เลยนะ ถ้านึกไม่ออกว่าทำงานที่ไหน ก็ลองนึกถึงเครือ CP ก็ได้บริษัทใหญ่ต้นๆ ของประเทศเลย
5.พนักงาน/ข้าราชการกรมการข้าว
มีทั้งงานพนักงานและราชการเลย สำหรับกรมฯนี้ งานหลักๆ เลยก็คือ ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพผลผลิตข้าวพัฒนาศักยภาพชาวนา ประมาณนี้
6.นักวิชาการโรคพืช
เป็นหนึ่งงานที่ได้ใช้ความรู้ด้านเกษตรที่เรียนมาในมหาลัยค่อนข้างเยอะ งานหลักก็คือการคันคว้า วิจัย การเกิดโรคของพืช และการแก้ไขและป้องกันต่างๆ คล้ายหมอที่หาวิธีรักษาคน แต่นักวิชาการโรคพืชจะหาวิธีรักษาพืชพันธ์ไว้
7.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในห้องทดลองด้านเกษตรกรรม
หรืองานเจ้าหน้าที่ในแล็บที่วิจัยเกี่ยวกับด้านการเกษตรนั่นเอง ซึ่งจะทำการทดลองต่างๆอยู่ในห้องทดลอง งานค่อนข้างจะวิชาการ ซึ่งก็มีหลายหน่วยงานมากที่รับตำแหน่งนี้ทั้งรัฐและเอกชน
8.อาจารย์มหาวิทยาลัย
เป็นงานราชการหรือพนักงานราชการ แต่โดยส่วนมากจะต้องจบอย่างต่ำระดับปริญญาโทนะ ยิ่งถึงจบปริญญาเอกเลยยิ่งดี งานหลักๆ ก็คือสอนให้ความรู้กับนักศึกษา และทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้

  • กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 2 คณะ
  1. เป็นหนึ่งในสาขาที่ ใช้คณิตศาสตร์ค่อนข้างเยอะมาก
    ไม่ได้ถึงกับยากเว่อร์ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายนะ ยิ่งน้องคนไหนที่ไม่ได้ถนัดด้าน
    คำนวณเท่าไร มาเจอคณิตของสาขานี้เข้าไป แล้วรู้สึกว่ามันยากมากๆ ก็ไม่แปลก
  2. บัญชี = คณิต+อังกฤษ
    ถ้าจะเรียนบัญชี ต้องตั้งใจเรียนสองวิชานี้ไว้เลย เพราะสามารถนำความรู้
    มาต่อยอดในวิชาของสาขานี้ใด้แทบทุกตัวเลย สำคัญสุดๆ
  3. บอกลาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไปได้เลย
    สำหรับน้องคนไหนที่ไม่ชอบวิชาสายวิทย์ คือมาถูกทางแล้วนะ เพราะใน
    คณะ หรือสาขานี้ แทบไม่มีวิชาพวกนี้เลย หรือถ้ามีก็พื้นฐานมากๆ แบบวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ยากๆ ไม่ต้องเรียน เพราะมันไม่จำเป็นต้องใช้ในคณะนี้
  4. เด็กคณะนี้จะวางแผนในชีวิตเก่ง
    เนื่องจากการเรียนการสอนที่มีคำนวณเยอะ การคิดของคณะนี้จะเป็นระบบ
    มากๆ จึงทำให้การเป็นคนวางแผนการใช้เงิน หรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตเก่ง ซึ่งมันก็เป็นข้อดีนะ
  5. สังคมแบบผู้หญิงเยอะ
    ที่เหมือนกันทุกที่ ทุกมหาลัยคือคณะนี้ผู้หญิงจะเยอะกว่าผู้ชาย แล้วสังคมแบบ
    ผู้หญิงๆ เลยก็อาจจะไม่เหมาะกับบางคนนะ เรื่องแบ่งกลุ่ม ซุบซิบ นินทานี้ปกติเลย
  6. สาวบัญชีค่อนข้างหน้าตาดีและฮอตกับคณะอื่นมาก
    โดยเฉพาะกับคณะที่ผู้ชายเยอะๆ เช่น วิศวะ เหมือนเกิดมาคู่กันเลย
  7. งานสายบัญชีมีเยอะมากแต่เด็กที่จบสายนี้ก็เยอะมากเช่นกัน
    งานเยอะจริงๆนะ เพราะแทบทุกบริษัท ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ล้วนต้องมีคนสายอาชีพนี้ทั้งนั้น แต่ว่าทุกๆ ปีเด็กที่จบสาขานี้ก็เยอะเช่นกัน ดังนั้นการได้งาน อยู่ที่ความสามารถน้องเอง
  8. งานตรวจสอบบัญชีเงินเดือนสูงมาก
    ผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งต้องจบมาจากคณะบัญชีเท่านั้น
    ผู้ตรวจสอบบัญชีในองค์กรใหญ่ๆ นี่เงินเดือนสูงมากกว่าหลายๆ อาชีพไปไกลเลยหรือถ้าไม่อยากเป็นลูกจ้าง จะออกมาเปิดเป็นธุรกิจส่วนตัวก็ยังได้

โดยส่วนตัวให้ความน่าสนใจของคณะนี้อยู่ที่ 9/10 ซึ่งมาจากข้อดี-ข้อเสีย ดังต่อไปนี้
ข้อดี : อย่างแรกอยากให้เข้าใจคณะบัญชีกับบริหารธุรกิจก่อนนะ ซึ่งอยากให้เข้าใจว่าโดยรวมๆแล้ว บริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน การตลาด การบัญชี พวกนี้จะเป็นสาขาอยู่ในคณะๆ หนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช้ชื่อว่าคณะบริหารธุรกิจ ก็จะใช้ชื่อว่าคณะการบัญชี แล้วแต่สถาบันจะตั้ง ดังนั้นเรียนคณะบัญชี กับการเรียนคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี จบมาก็คือบัญชีเหมือนกัน ขอใบอนุญาติได้เหมือนกันส่วนต่อมา สำหรับข้อดีใหญ่ของคณะนี้คือความสามารถในการบริหารจัดการจะจัดการธุรกิจ จัดการเกี่ยวกับเรื่องเงิน จัดการด้านเวลา คือความรู้ที่ได้งานช่วยให้ชีวิตน้องเป็นระเบียบและเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลดีมากๆ ในการทำงานด้วย ซึ่งยิ่งใครมีความสามารถด้านการบริหารจัดการสูงๆ การทำหน้าที่การงาน การได้เป็นหัวหน้าแผนก หัวหน้าหน่วย หรือออกไปเปิดกิจการของตัวเอง ความรู้จากคณะนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดเลยเรียกได้ว่าเรียนแล้วเสียเปล่ามีบ้าง แต่มีน้อยมาก


ข้อเสีย : สำหรับสาขาการบัญชีนี้ปัญหาน้อย เพราะหลายๆคนคงรู้ว่าการทำงานด้านบัญชี ซึ่งเป็นงานวิชาชีพ หางานง่าย ตกงานยาก ถึงงานจะหนักบ้างเป็นช่วงๆ แต่ไม่ได้แย่อะไร แต่สำหรับน้องที่เข้ามาสาขาบริหารธุรกิจและคาดหวังว่าจบไปจะเป็นหัวหน้า จะได้บริหารธุรกิจ จะเป็นเจ้าของกิจการนี่ยากเลย เพราะกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ก็คืออีกยาวไกลเลย แถมไม่ว่าจะจบคณะอะไรก็สามารถเป็นผู้จัดการหรือเจ้าของธุรกิจได้ ดังนั้นอยากให้เข้าเรียนคณะนี้เพราะชอบหรือสนใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ มากกว่าเข้ามาโดยหวังว่าจบไปจะต้องได้เป็นผู้จัดการและต้องได้เงินเดือนเยอะๆ

ปี 1
เป็นวิชาพื้นฐาน ยังไม่หนักมาก

ด้วยความเป็นน้องใหม่ ปีแรกเด็กทุกคนจะมีกิจกรรมเยอะ เช่น ซ้อมเชียร์ สปอร์ตเดย์ หรือรับน้อง วิชาเรียนปีนี้จะยังไม่หนักนัก ส่วนมากก็จะยังเป็นพื้นฐาน เช่น พื้นฐานการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ หรือ คณิตศาสตร์เบื้องต้น เป็นต้น
ปี 2
วิชาเรียนเริ่มเกี่ยวกับธุรกิจ

ปี 2 เริ่มเข้าสู่วิชาแกนของคณะ ซึ่งเริ่มเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว เช่น ภาษีอากร สถิติธุรกิจ การเงิน การตลาดเบื้องต้น และภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ซึ่งไม่ว่าจะเรียนสถาบันไหนก็ต้องเจอ
ปี 3
การฝึกงานธุรกิจและวิชาเอก

พอปี 3 น้องๆ ไปดูงานนอกสถานที่และต้องเลือกสถานที่ฝึกงาน ซึ่งจะใช้เวลาฝึก 24 เดือน ตามหลักสูตร ส่วนวิชาเรียนนั้นอยู่ที่เอกที่เราเลือก ซึ่ง
เอกการเงิน เอกการตลาด หรือเอกเจ้าของธุรกิจ วิชาเรียนก็จะต่างกันไปนะ
ปี 4
งานวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจ

ปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายนี่จะเหนื่อยหน่อย เพราะต้องเลือกหัวข้อทางธุรกิจที่เราสนใจเพื่อศึกษา ซึ่งถ้าใครที่เหลือวิชาเรียนเยอะๆ เช่น ดรอปเรียนไว้ ปีนี้จะเหนื่อยมาก เพราะถ้าทุกอย่างไม่เสร็จอาจไม่ได้จบพร้อมเพื่อนนะ

1.นักบัญชีประจำองค์กร
นักบัญชีที่ทำงานในบริษัทและกิจการร้านค้าต่างๆ ไม่ว่าที่ไหนที่มีการทำธุรกิจ มีรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ยังไงก็หลีกเลี่ยงการทำบัญชีไม่ได้ ดังนั้นยิ่งองค์กรใหญ่ๆ นี่มีนักบัญชีหลายสิบคนเลย
2.ผู้สอบบัญชี รับอนุญาต (CPA)
อาชีพนี้เป็นวิชาชีพนะซึ่งต้องจบสาขาการบัญชีและสอบใบอนุญาตผ่านแล้วโดยมีหน้าที่ตรวจสอบการควบคุมและตรวจสอบเนื้อหาสาระในบัญชีเพื่อประเมินความเสี่ยง เป็นหนึ่งในอาชีพในฝัน ที่งานหนักแต่ว่ารายได้ดีมาก
3.ผู้ตรวจสอบภายใน รับอนุญาต (CIA)
อีกหนึ่งในอาชีพที่ต้องจบจากสาขาบัญชีเท่านั้นซึ่งหลังจากเรียนจบมาก็ต้องสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตผู้ตรวจสอบภายในโดยอาชีพนี้จะมีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมว่าการใช้จ่ายภายในของบริษัทเป็นตามที่ถูกต้องไหม เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เงินเดือนค่อนข้างสูงเช่นกัน
4.ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรในด้านภาษีอากรกฎหมายภาษีเพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในด้านต่างๆอีกทั้งยังช่วยวางแผนและแก้ปัญหาในการเสียภาษีให้แก่องค์กรรวมทั้งยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภทด้วย เป็นหนึ่งในอาชีพที่ค่อนข้างจะสำคัญและเป็นที่ต้องการมากๆ ยิ่งเก่งยิ่งเงินเดือนเยอะ
5.ที่ปรึกษาด้านบัญชีและการเงิน
เป็นอีกสายงานที่มีรายได้ค่อนข้างสูง โดยผู้ให้บริการด้านคำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี มีหน้าที่จัดทำแก้ไขวางระบบและตรวจสอบบัญชีและภาษีภายในองค์กรเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นอีกอาชีพที่ยิ่งเก่งยิ่งเงินเดือนเยอะ เพราะเกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรง
6.พนักงานธนาคาร
ในธนาคารนั้นมีตำแหน่งอยู่หลากหลาก ทั้งฝ่ายบริการ ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายประเมินความเสี่ยง และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งแทบจะทุกตำแหน่งมาจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นส่วนมากเลยยิ่งสาขาโดยตรงเลย เช่น สาขาการเงินการธนาคารนี่เรียกว่าตรงสายมากๆ

7 .นักวิเคราะห์การตลาด
มีหน้าที่วิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อวางแผนกลยุทธ์แข่งขันกับคู่แข่งซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดว่าบริษัทนั้นจะไปร่วงหรือไปรอดและเป็นอาชีพที่ใช้ทั้งวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน
8.เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
หรือที่หลายๆ คนเรียนว่า Human Resources (HR) เป็นหนึ่งในอาชีพที่บริษัทใหญ่ๆ ต้องมีแน่นอน เพราะหากองค์กรไม่สามารถดูแลให้พนักงานรู้สึกพอใจในการทำงานหรือไม่สามารถจัดการให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยากที่องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาชีพนี้จะดูแลส่วนนี้
9.ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เนื่องจากด้านโลจิสติกส์นั้นต้องอาศัยการจัดการเป็นอย่างดีอาชีพนี้จะมีหน้าที่วิเคราะห์ให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อลดต้นทุนตั้งแต่ด้านบริหารคลังสินค้าและการบริทารงานขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาซึ่งสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการสามารถทำตรงส่วนนี้ได้ดีเลย
10.นักวิเคราะห์การเงิน
มีหน้าที่ในการพัฒนาแผนธุรกิจศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการใหม่ๆทำการวิเคราะห์
อุตสาหกรรมและทำนายสถานะทางการเงินของบริษัทรวมทั้งให้คำแนะนำและวิเคราะห์การกำหนดราคาสินค้า เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญมากๆ ต่อกำไรหรือขาดทุนของบริษัท

  1. เป็นหนึ่งในสาขาที่ ใช้คณิตศาสตร์ค่อนข้างเยอะมาก
    ไม่ได้ถึงกับยากเว่อร์ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายนะ ยิ่งน้องคนไหนที่ไม่ได้ถนัดด้าน
    คำนวณเท่าไร มาเจอคณิตของสาขานี้เข้าไป แล้วรู้สึกว่ามันยากมากๆ ก็ไม่แปลก
  2. บัญชี = คณิต+อังกฤษ
    ถ้าจะเรียนบัญชี ต้องตั้งใจเรียนสองวิชานี้ไว้เลย เพราะสามารถนำความรู้
    มาต่อยอดในวิชาของสาขานี้ใด้แทบทุกตัวเลย สำคัญสุดๆ
  3. บอกลาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไปได้เลย
    สำหรับน้องคนไหนที่ไม่ชอบวิชาสายวิทย์ คือมาถูกทางแล้วนะ เพราะใน
    คณะ หรือสาขานี้ แทบไม่มีวิชาพวกนี้เลย หรือถ้ามีก็พื้นฐานมากๆ แบบวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ยากๆ ไม่ต้องเรียน เพราะมันไม่จำเป็นต้องใช้ในคณะนี้
  4. เด็กคณะนี้จะวางแผนในชีวิตเก่ง
    เนื่องจากการเรียนการสอนที่มีคำนวณเยอะ การคิดของคณะนี้จะเป็นระบบ
    มากๆ จึงทำให้การเป็นคนวางแผนการใช้เงิน หรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตเก่ง ซึ่งมันก็เป็นข้อดีนะ
  5. สังคมแบบผู้หญิงเยอะ
    ที่เหมือนกันทุกที่ ทุกมหาลัยคือคณะนี้ผู้หญิงจะเยอะกว่าผู้ชาย แล้วสังคมแบบ
    ผู้หญิงๆ เลยก็อาจจะไม่เหมาะกับบางคนนะ เรื่องแบ่งกลุ่ม ซุบซิบ นินทานี้ปกติเลย
  6. สาวบัญชีค่อนข้างหน้าตาดีและฮอตกับคณะอื่นมาก
    โดยเฉพาะกับคณะที่ผู้ชายเยอะๆ เช่น วิศวะ เหมือนเกิดมาคู่กันเลย
  7. งานสายบัญชีมีเยอะมากแต่เด็กที่จบสายนี้ก็เยอะมากเช่นกัน
    งานเยอะจริงๆนะ เพราะแทบทุกบริษัท ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ล้วนต้องมีคนสายอาชีพนี้ทั้งนั้น แต่ว่าทุกๆ ปีเด็กที่จบสาขานี้ก็เยอะเช่นกัน ดังนั้นการได้งาน อยู่ที่ความสามารถน้องเอง
  8. งานตรวจสอบบัญชีเงินเดือนสูงมาก
    ผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งต้องจบมาจากคณะบัญชีเท่านั้น
    ผู้ตรวจสอบบัญชีในองค์กรใหญ่ๆ นี่เงินเดือนสูงมากกว่าหลายๆ อาชีพไปไกลเลยหรือถ้าไม่อยากเป็นลูกจ้าง จะออกมาเปิดเป็นธุรกิจส่วนตัวก็ยังได้

โดยส่วนตัวให้ความน่าสนใจของคณะนี้อยู่ที่ 9/10 ซึ่งมาจากข้อดี-ข้อเสีย ดังต่อไปนี้
ข้อดี : อย่างแรกอยากให้เข้าใจคณะบัญชีกับบริหารธุรกิจก่อนนะ ซึ่งอยากให้เข้าใจว่าโดยรวมๆแล้ว บริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน การตลาด การบัญชี พวกนี้จะเป็นสาขาอยู่ในคณะๆ หนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช้ชื่อว่าคณะบริหารธุรกิจ ก็จะใช้ชื่อว่าคณะการบัญชี แล้วแต่สถาบันจะตั้ง ดังนั้นเรียนคณะบัญชี กับการเรียนคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี จบมาก็คือบัญชีเหมือนกัน ขอใบอนุญาติได้เหมือนกันส่วนต่อมา สำหรับข้อดีใหญ่ของคณะนี้คือความสามารถในการบริหารจัดการจะจัดการธุรกิจ จัดการเกี่ยวกับเรื่องเงิน จัดการด้านเวลา คือความรู้ที่ได้งานช่วยให้ชีวิตน้องเป็นระเบียบและเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลดีมากๆ ในการทำงานด้วย ซึ่งยิ่งใครมีความสามารถด้านการบริหารจัดการสูงๆ การทำหน้าที่การงาน การได้เป็นหัวหน้าแผนก หัวหน้าหน่วย หรือออกไปเปิดกิจการของตัวเอง ความรู้จากคณะนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดเลยเรียกได้ว่าเรียนแล้วเสียเปล่ามีบ้าง แต่มีน้อยมาก


ข้อเสีย : สำหรับสาขาการบัญชีนี้ปัญหาน้อย เพราะหลายๆคนคงรู้ว่าการทำงานด้านบัญชี ซึ่งเป็นงานวิชาชีพ หางานง่าย ตกงานยาก ถึงงานจะหนักบ้างเป็นช่วงๆ แต่ไม่ได้แย่อะไร แต่สำหรับน้องที่เข้ามาสาขาบริหารธุรกิจและคาดหวังว่าจบไปจะเป็นหัวหน้า จะได้บริหารธุรกิจ จะเป็นเจ้าของกิจการนี่ยากเลย เพราะกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ก็คืออีกยาวไกลเลย แถมไม่ว่าจะจบคณะอะไรก็สามารถเป็นผู้จัดการหรือเจ้าของธุรกิจได้ ดังนั้นอยากให้เข้าเรียนคณะนี้เพราะชอบหรือสนใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ มากกว่าเข้ามาโดยหวังว่าจบไปจะต้องได้เป็นผู้จัดการและต้องได้เงินเดือนเยอะๆ

ปี 1
เป็นวิชาพื้นฐาน ยังไม่หนักมาก

ด้วยความเป็นน้องใหม่ ปีแรกเด็กทุกคนจะมีกิจกรรมเยอะ เช่น ซ้อมเชียร์ สปอร์ตเดย์ หรือรับน้อง วิชาเรียนปีนี้จะยังไม่หนักนัก ส่วนมากก็จะยังเป็นพื้นฐาน เช่น พื้นฐานการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ หรือ คณิตศาสตร์เบื้องต้น เป็นต้น
ปี 2
วิชาเรียนเริ่มเกี่ยวกับธุรกิจ

ปี 2 เริ่มเข้าสู่วิชาแกนของคณะ ซึ่งเริ่มเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว เช่น ภาษีอากร สถิติธุรกิจ การเงิน การตลาดเบื้องต้น และภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ซึ่งไม่ว่าจะเรียนสถาบันไหนก็ต้องเจอ
ปี 3
การฝึกงานธุรกิจและวิชาเอก

พอปี 3 น้องๆ ไปดูงานนอกสถานที่และต้องเลือกสถานที่ฝึกงาน ซึ่งจะใช้เวลาฝึก 24 เดือน ตามหลักสูตร ส่วนวิชาเรียนนั้นอยู่ที่เอกที่เราเลือก ซึ่ง
เอกการเงิน เอกการตลาด หรือเอกเจ้าของธุรกิจ วิชาเรียนก็จะต่างกันไปนะ
ปี 4
งานวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจ

ปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายนี่จะเหนื่อยหน่อย เพราะต้องเลือกหัวข้อทางธุรกิจที่เราสนใจเพื่อศึกษา ซึ่งถ้าใครที่เหลือวิชาเรียนเยอะๆ เช่น ดรอปเรียนไว้ ปีนี้จะเหนื่อยมาก เพราะถ้าทุกอย่างไม่เสร็จอาจไม่ได้จบพร้อมเพื่อนนะ

1.นักบัญชีประจำองค์กร
นักบัญชีที่ทำงานในบริษัทและกิจการร้านค้าต่างๆ ไม่ว่าที่ไหนที่มีการทำธุรกิจ มีรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ยังไงก็หลีกเลี่ยงการทำบัญชีไม่ได้ ดังนั้นยิ่งองค์กรใหญ่ๆ นี่มีนักบัญชีหลายสิบคนเลย
2.ผู้สอบบัญชี รับอนุญาต (CPA)
อาชีพนี้เป็นวิชาชีพนะซึ่งต้องจบสาขาการบัญชีและสอบใบอนุญาตผ่านแล้วโดยมีหน้าที่ตรวจสอบการควบคุมและตรวจสอบเนื้อหาสาระในบัญชีเพื่อประเมินความเสี่ยง เป็นหนึ่งในอาชีพในฝัน ที่งานหนักแต่ว่ารายได้ดีมาก
3.ผู้ตรวจสอบภายใน รับอนุญาต (CIA)
อีกหนึ่งในอาชีพที่ต้องจบจากสาขาบัญชีเท่านั้นซึ่งหลังจากเรียนจบมาก็ต้องสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตผู้ตรวจสอบภายในโดยอาชีพนี้จะมีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมว่าการใช้จ่ายภายในของบริษัทเป็นตามที่ถูกต้องไหม เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เงินเดือนค่อนข้างสูงเช่นกัน
4.ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรในด้านภาษีอากรกฎหมายภาษีเพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในด้านต่างๆอีกทั้งยังช่วยวางแผนและแก้ปัญหาในการเสียภาษีให้แก่องค์กรรวมทั้งยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภทด้วย เป็นหนึ่งในอาชีพที่ค่อนข้างจะสำคัญและเป็นที่ต้องการมากๆ ยิ่งเก่งยิ่งเงินเดือนเยอะ
5.ที่ปรึกษาด้านบัญชีและการเงิน
เป็นอีกสายงานที่มีรายได้ค่อนข้างสูง โดยผู้ให้บริการด้านคำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี มีหน้าที่จัดทำแก้ไขวางระบบและตรวจสอบบัญชีและภาษีภายในองค์กรเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นอีกอาชีพที่ยิ่งเก่งยิ่งเงินเดือนเยอะ เพราะเกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรง
6.พนักงานธนาคาร
ในธนาคารนั้นมีตำแหน่งอยู่หลากหลาก ทั้งฝ่ายบริการ ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายประเมินความเสี่ยง และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งแทบจะทุกตำแหน่งมาจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นส่วนมากเลยยิ่งสาขาโดยตรงเลย เช่น สาขาการเงินการธนาคารนี่เรียกว่าตรงสายมากๆ

7 .นักวิเคราะห์การตลาด
มีหน้าที่วิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อวางแผนกลยุทธ์แข่งขันกับคู่แข่งซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดว่าบริษัทนั้นจะไปร่วงหรือไปรอดและเป็นอาชีพที่ใช้ทั้งวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน
8.เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
หรือที่หลายๆ คนเรียนว่า Human Resources (HR) เป็นหนึ่งในอาชีพที่บริษัทใหญ่ๆ ต้องมีแน่นอน เพราะหากองค์กรไม่สามารถดูแลให้พนักงานรู้สึกพอใจในการทำงานหรือไม่สามารถจัดการให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยากที่องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาชีพนี้จะดูแลส่วนนี้
9.ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เนื่องจากด้านโลจิสติกส์นั้นต้องอาศัยการจัดการเป็นอย่างดีอาชีพนี้จะมีหน้าที่วิเคราะห์ให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อลดต้นทุนตั้งแต่ด้านบริหารคลังสินค้าและการบริทารงานขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาซึ่งสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการสามารถทำตรงส่วนนี้ได้ดีเลย
10.นักวิเคราะห์การเงิน
มีหน้าที่ในการพัฒนาแผนธุรกิจศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการใหม่ๆทำการวิเคราะห์
อุตสาหกรรมและทำนายสถานะทางการเงินของบริษัทรวมทั้งให้คำแนะนำและวิเคราะห์การกำหนดราคาสินค้า เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญมากๆ ต่อกำไรหรือขาดทุนของบริษัท