Institution of PNU

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มี 1 สถาบัน


  • กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา (ปริญญาตรี)

2.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอิสลาม (ปริญญาตรี)

3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับ (นานาชาติ) (ปริญญาตรี)

2.หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564 (ปริญญาโท)

คำถามเหล่านี้ ผมโดนมามากเลยล่ะกับคำพูดแบบนี้
แล้วผมก็แปลกใจ ทีคำพูดเหล่านี้ออกมาจากปากของผู้ศรัทธาอย่างเรา!

ผมขอตอบเลยก็แล้วกัน สำหรับใครทียังไมรู้และต้องการทีจะรู้?

คำตอบคือ เรียนศาสนาก็ไปทำงานศาสนานั่นแหละ

 โปรดย้อนดูสักนิดหนึ่ง มุสลิมทุกคนต้องมีศาสนาใช่หรือไหม?

แล้วเรารู้จักหรือเปล่า..
อะไรคือ…. ศาสนา…?
อะไรคือ…อิสลาม…?
อะไรคือ…มุสลิม..?

แล้วเอาความรู้ศาสนามาจากใครล่ะ 
ใครสอนละหมาดให้เรา ใครสอนอ่านอัลกรุอ่านให้เรา
พิธีกรรมทีทำเองไม่ได้ ผู้รู้ทั้งนั้นทีทำให้

แต่เราให้ความสำคัญกับผู้รู้น้อยไป จึงเกิดความแปลกใจว่าเรียนศาสนาแล้วจะไปทำอะไร?
ห่วงแต่ว่า…เรียนศาสนาแล้วมีอะไรทำไหม?

ไม่เอาศาสนาแต่เรียนโรงเรียนเพื่อร่วมรุ่นดี
ทำงานดี ชื่อเสียโด่งดัง
ทั้งๆที ละหมาดก็ไมเป็น อ่านฟาตีฮะห์ก็ไม่รู้คุณพ่อตายเป็นอีหม่านละหมาดมายัต(ศพ)ให้คุณพ่อก็ไม่ได้
คุณแม่ไกล้จะตายอ่านกกรุอ่านให้เขาฟังเป็น ครั้งสุดท้ายก็ไม่ได้ อาบน้ำมายัต(ศพ) ให้คุนพ่อก็ไม่เป็น

ทั้งๆทีสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งทีจำเป็นสำหรับเราน่ะ
แล้วถ้าเราไม่เรียนศาสนาล่ะ เราจะรู้เรื่องเหล่านี้หรอ

คำตอบคือ ไม่ และเรื่องอื่นอีกมากมายเราจะไม่รู้

ถ้าเราไม่เรียนศาสนา 
(อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร) อันนี้คือพูดแบบใช่ความคิด (ถึงเเม้คนโพสไมค่อยจะฉลาดก็ตาม)

เครดิต: นักเขียนอิสระ สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์

นี่คือ 10 สุดยอดเหตุผลแห่งการเริ่มเรียนภาษาอาหรับ (Cr: อุมมุ มุบีน)

1. ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปมากที่สุด อยู่ในอันดับที่ 5

2. ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางศาสนาของอิสลาม

3. คนที่พูดภาษาอาหรับได้ในโลกตะวันตก เป็นที่ต้องการสูง แต่มีจำนวนน้อย

4. มีแรงกระตุ้นด้านการเงินให้เรียนภาษาอาหรับ

5. ชาติที่พูดภาษาอาหรับเป็นตลาดที่โตเร็วด้านการค้า

6. ผู้ที่พูดภาษาอาหรับได้มีคุณูปการต่ออารยธรรมโลก

7. โลกที่ใช้ภาษาอาหรับมีมรดกทางวัฒนธรรมอยู่มาก

8. การรู้ภาษาอาหรับสามารถส่งเสริมความเข้าใจ ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

9. อิทธิพลของภาษาอาหรับปรากฏอย่างชัดเจนอยู่ในภาษาอื่น

10. ประเทศสหรัฐอเมริกามีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอาหรับ อเมริกัน

การศึกษาหาวิชาความรู้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์  เพราะการอยู่รอดของมนุษย์ไม่ว่ายุคใดก็ตามต้องอาศัยการเรียนรู้ต่อสิ่งที่อยู่รอบข้าง  การพัฒนาในเรื่องของความรู้จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ  ในอดีตการจัดการศึกษาของมนุษย์ถูกจำกัดในวงแคบๆ  ซึ่งต่างกับยุคปัจจุบันที่การศึกษาของมนุษย์ถูกจัดไว้ในหลากรูปแบบ มีโรงเรียนและสถาบันที่ให้ความรู้กับผู้คนมากมาย มีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐ และเอกชน

         การแข่งขันในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้มีโรงงานมากมายเพราะความต้องการในสินค้าของมนุษย์  ปัจจุบันการเปิดหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอนได้มีสาขาการเรียนรู้มากมาย และการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของนักเรียนจึงเป็นความหวังและอนาคตของพวกเขา  ค่านิยมของคนส่วนมากมักจะคิดแค่ว่าเรียนจบแล้วมีงานทำคือเป้าหมายสูงสุด ได้ทำงานและมีรายได้ดีหลังจากที่จบมาแล้ว  จึงต้องเลือกเรียนคณะที่มีงานรองรับ


          นักเรียนจำนวนมากถูกปลูกฝังในเรื่องของการศึกษา ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยต้องเข้าเรียนคณะที่มีความนิยม  และค่านิยมของคนในประเทศไทยถูกปลูกฝังในเรื่องของการศึกษา ว่าเรียนคณะอะไร จบมาแล้วมีงานอะไรให้ทำบ้าง ? เป้าหมายของคนส่วนมากในการศึกษาคือ จบมาแล้วจะได้มีงานทำ นักเรียนน้อยคนที่จะถูกปลูกฝังในเรื่องการศึกษาเพื่อให้เป็นนักวิชาการ และนำความรู้ที่ได้ศึกษามาค้นคว้าต่อเพื่อพัฒนาให้มีความก้าวหน้า  และเรามิได้ปลูกฝังให้นักเรียน เรียนเพื่อให้เป็นคนที่รับใช้สังคม ในด้านที่ตัวเองมีความรู้ และนำความรู้ที่มีมาใช้ประโยชน์กับตัวเองและสังคมมนุษย์

 เจตนารมณ์ที่อิสลามส่งเสริมให้มีการศึกษาเพราะอะไร ? และเป้าหมายการศึกษาของอิสลามนั้นเพื่ออะไร ?


         เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของท่านนบี  ท่านถูกส่งมาในยุคที่เรียกว่า ยุคญาฮีลียะห์ (ยุคงมงายอวิชา) คนในยุคนั้นไร้อารยะธรรม ไร้คุณธรรม ใช้ชีวิตที่ไม่มีกฎระเบียบในสังคม มีแต่การเข่นฆ่า การแก้แค้นกันระหว่างเผ่าที่ไม่มีการจบสิ้น มีการเสพดื่มของมึนเมา การผิดประเวณีแพร่หลาย และผู้หญิงถูกเหยียดหยามไม่ให้เกียรติ  เมื่อได้ลูกผู้หญิงจะรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก  จนกระทั่งชนอาหรับในยุคนั้นนิยมฝังลูกผู้หญิงทั้งเป็น  และถูกมองว่าเป็นชนชาติที่ล้าหลัง แต่สังคมอาหรับเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อท่านนบี มูฮัมมัด ได้นำวะยูฮฺจากพระผู้เป็นเจ้ามายังชาวมักกะฮฺ

บทความจาก อิสมาอีล  กอเซ็ม

  • นักวิชาการด้านอิสลาม
  • วิทยากรอิสลามศึกษา
  • นักวิจัยด้านอิสลามศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา
  • อาชีพอิสระ
  • ล่ามแปลภาษา
  • อาจารย์